ข่าวปลอมทั้งหลาย ผิดกฎหมายอย่างไร?


ยังอยู่กับเรื่องคอม ๆ อยู่นะ 5555
ช่วงนี้ก็จะอิน ๆ หน่อย เพราะทุกวันนี้เรื่อง IT เป็นเรื่องใกล้ตัว
เรียกว่ารอบตัวเลยดีกว่า เลยต้องศึกษาข้อมูลไว้บ้าง
โลกโซเชี่ยลสมัยนี้ sensitive แรง อะไรก็สามารถเป็นกระแสได้แบบข้ามคืน
แต่จะเป็นกระแสดี/ลบนั้นอีกเรื่อง 5555
เรื่องฟ้องร้องนี้เหมือนเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าสมัยก่อนเยอะมาก
เอะอะหาทนายกันมาละจ่ะ โงงไปโม๊ดดด

ช่วงนี้ข่าวเต็มไปหมดเลย
ทั้งไวรัสเอย รัฐบาลเอย น้องพีทเอย ทนายSaveNarinya อะไรงี้
มีเรื่องให้เสพกันทุกวัน 555
อย่างเรื่องไวรัสก็มีทั้งข่าวจริงข่าวปลอม บางเพจก็โยงนั่นนี่ไปเรื่อย
เขียนมั่วสร้างกระแสเรียกยอดไลค์ยอดแชร์ ทำให้คนอ่านเข้าใจกันแบบผิด ๆ
เอาจริง ๆ คือควรมีมาตรการกับพวกนี้ได้แล้วอ่ะ
คือมันเสียหายในวงกว้างเพราะคนอ่านแล้วก็แชร์กันต่อไปเรื่อย ๆ
อาจจะทำให้คนตื่นตูม หรืออะไรก็แล้วแต่
ซึ่งมันเป็นข้อมูลผิด ๆ ที่ทำให้คนเข้าใจกันแบบผิด ๆ

คราวนี้เลยจะมาพูดถึงเรื่อง  พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เกี่ยวกับ "ข้อมูลเท็จ"

ตามกฎหมายจริงจะมีแบ่งย่อยเป็นหลายข้อมาก
แต่สรุปรวบมาว่า หลัก ๆ จะแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ
1. เน้นไปที่ "ข่าวปลอม" นั่นก็คือ การเผยแพร่ข้อมูลเท็จที่จะกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
>> ต้องกระทบต่อระดับสังคมเท่านั้นนะ ถ้าโจมตีบุคคลไม่ถือว่าเข้าข่ายมาตรานี้

2. เน้นไปที่ "การทุจริตหรือหลอกลวง"
>> การหลอกเพื่อเอาผลประโยชน์ทางทรัพย์สิน
ซึ่งเอาผิดเฉพาะกรณีการหลอกลวงต่อสาธารณชนเช่นกัน

นั่นหมายความว่า
กฎหมายมาตรานี้จะครอบคลุมเฉพาะการทำผิดที่ส่งผลกระทบต่อสังคมวงกว้างเท่านั้น
โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนถ้าเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเพื่อโจมตีบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
หรือเป็นข้อมูลเท็จที่ไม่น่าจะมีอิทธิพลจูงใจให้คนจำนวนมากเชื่อหรือสนใจได้
ก็ยังไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แต่อาจจะเป็นความผิดตามมาตรอื่น ๆ ได้จ้า

...

Comments